best css templates

เรือแห่งความหลุดพ้น

  เรือ เปรียบเสมือน บุญ ที่เป็นยานพาหนะในการบรรทุกหมู่สัตว์ในโลกมนุษย์ให้ข้ามวัฏฏะสงสารขึ้นสู่สวรรค์ และนิพาน ส่วนทางขึ้นทั้ง ๔ ด้าน หมายถึง อริยสัจ ๔ คือ ความจริงอันประเสริฐซึ่งเป็นหัวใจในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

1

ทางขึ้นที่ ๑ ทางทิศใต้ คือ ความทุกข์

ทุกข์ แสดงถึง สิ่งที่ปรุงแต่งทั้งปวงเป็นทุกข์ นี้คือบอกตรงๆ ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอะไรนั่นเอง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ใจ แต่คนทั้งหลายไม่รู้ ไม่เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นเป็นความทุกข์ จึงได้มีความอยากในสิ่งเหล่านั้น ถ้ารู้ว่าสิ่งเหล่านั้นมันเป็นความทุกข์ไม่น่าจะอยากและไม่น่ายึดติด ไม่น่าผูกพันตัวเองเข้ากับ สิ่งใดแล้ว เขาก็คงจะไม่ไปอยากซึ่งตัวทุกข์โดยตัวทุกข์ หมายถึง ขันธ์ ๕

2

ทางขึ้นที่ ๒ ทางทิศตะวันตก คือ  สมุทัย เหตุแห่งทุกข์

สมุทัย แสดงถึง ความอยากด้วยอวิชชา (ความไม่รู้) นั้นเป็นต้นเหตุของความทุกข์ คนทั้งหลายก็ยังไม่รู้ไม่เห็น ไม่เข้าใจว่าความอยากนี้แหละเป็นต้นเหตุของความทุกข์ใจ จึงได้พากันอยากนั่น อยากนี้ ร้อยแปดพันประการเพราะไม่รู้ว่าความอยากด้วยอวิชชา (ความไร่รู้) นั้นคือสาเหตุแห่งการเกิดทุกข์

3

ทางขึ้นที่ ๓ ทางทิศเหนือ คือ นิโรธ ความดับทุกข์

นิโรธ แสดงถึง นิโรธหรือนิพพาน การดับความอยากเสียได้สิ้นเชิงเป็นความไม่มีทุกข์ คนทั้งหลายยิ่งไม่รู้จักกันใหญ่ทั้งๆ ที่เป็นสิ่งที่อาจลุถึงได้ในที่ทั่วๆ ไป คือพบได้ตรงที่อยากมันดับลงไปนั้นเอง นี่คือไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร จึงไม่มีใครปรารถนาได้จะดับความอยาก ไม่ปรารถนานิพาน เพราะไม่รู้ว่าอะไรคือนิพพาน

4

ทางขึ้นที่ ๔ ทางทิศตะวันออก คือ มรรค ทางที่นำไปสู่ความดับทุกข์

มรรค แสดงถึง วิธีความอยากนั้นๆ เสีย ไม่มีผู้ใดเข้าใจว่าการทำอย่างนี้เป็นวิธีดับความอยาก ไม่มีใครสนใจเรื่องอริยมรรค อันมีองค์ ๘ ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่เลิศประเสริฐที่สุดในบรรดาวิชาความรู้ของมนุษย์เราในโลกนี้ ที่สามารถดับความอยากเสียได้ ไม่รู้จักอะไรเป็นที่พึ่งแก่ตน อะไรควรขวนขวายอย่างยิ่ง นี่แหละคือการไม่รู้อะไรเป็นอะไรอย่างน่าหวาดเสียว

พญานาคทั้ง ๘ ตัว

พญานาคทั้ง ๘ ตัวที่อยู่รอบข้างอุโบสถ หมายถึง มรรค ๘ ซึ่งมรรคมีองค์ ๘ หรือ ทางสายกลาง

Mobirise

พญานาคตัวที่ ๑ 

พญานาคตัวที่ ๑ คือ เห็นชอบ (สัมมาทิฐิ) (ปัญญา) ได้แก่ ความรู้ อริยสัจ ๔ หรือ
รู้อกุศล และอกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท โดยการเข้าใจชอบหรือเห็นชอบนั้นมีอยู่ ๒ ประเภท คือ
๑. ความเข้าใจ คือความรู้ ความเป็นพหุสุตร ความมีสติปัญญา สามารถรอบรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งตามข้อมูลที่ได้มา ความเข้าใจประเภทนี้เรียกว่า “ ตามรู้ “ (อนุโพธ) เป็นความเข้าใจที่ยังไม่ลึกซึ่ง
๒. ส่วนความเข้าใจที่ลึกซึ้งซึ่งเรียกว่า “ การรู้แจ้งแทงตลอด “ (ปฏิเวช) หมายถึงมองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามสภาวะที่แท้จริง โดยไม่คนึงถึงชื่อและป้ายชื่อยี่ห้อของสิ่งนั้น การรู้แจ้งแทงตลอดนี้ขึ้นได้ เมื่อจิตปราศจาก อาสวะทั้งหลาย และได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ด้วยการปฏิบัติสมาธิเท่านั้น 

Mobirise

พญานาคตัวที่  ๒

พญานาค ๒ คือ ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) (ปัญญา) ได้แก่ ความตึกที่เป็นกุศล ความนึกคิดที่ดีงาม (กุศลวิตก ๓) ประกอบด้วย

      ๑. ความตรึกปลอดจากกาม ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรนเปรอสนองความอยากของตน

      ๒. ความตรึกปลอดจากพยาบาท ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตาไม่ขัดเคียง หรือ เพ่งมองในแง่ร้าย

      ๓. ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียนด้วยกรุณาไม่คิดร้าย หรือมุ่งทำลาย 

Mobirise

พญานาคตัวที่ ๓  

พญานาคตัวที่ ๓ คือ เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) (ศีล) ได้แก่ วจีสุจริต ๔ ประกอบด้วย

      ๑. ไม่พูดเท็จ
      ๒. ไม่พุดส่อเสียด
      ๓. ไม่พูดหยาบ
      ๔. ไม่พูดเพ้อเจ้อ

Mobirise

พญานาคตัวที่ ๔

พญานาคตัวที่ ๔ คือ กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) (ศีล) ได้แก่ กายสุจริต ๓ ประกอบด้วย

      ๑. ไม่ฆ่าสัตว์
      ๒. ไม่ลักทรัพย์
      ๓. ไม่ประพฤติผิดในกาม

Mobirise

พญานาคตัวที่ ๕

พญานาคตัวที่ ๕ คือ คือเลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) (ศีล) ได้แก่

เว้นมิจฉาชีพ  ประกอบสัมมาชีพ

Mobirise

พญานาคตัวที่ ๖

พญานาคตัวที่ ๖ คือ พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) (สมาธิ) ได้แก่ สัมมัปปธาน ๔ ประกอบด้วย

      ๑. เพียรระวัง หรือเพียรปิดกั้น คือเพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมืให้เกิดขึ้น
      ๒. เพียรละ หรือเพียรกำจัดหรือเพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
      ๓. เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
      ๔. เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์

Mobirise

พญานาคตัวที่ ๗

พญานาคตัวที่ ๗ คือ ระลึกชอบ (สัมมาสติ) (สมาธิ) ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ ประกอบด้วย

      ๑. การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย
      ๒. การตั้งสติสะกดเวทนา
      ๓. การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต
      ๔. การตั้งสติพิจรณาธรรม

Mobirise

พญานาคตัวที่ ๘

พญานาคตัวที่ 8 คือ การตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) (สมาธิ) ได้แก่ ฌาน ๔ ประกอบด้วย

       ๑. ปฐมฌาน
       ๒. ทุติยฌาน
       ๓. ตติยฌาน
       ๔. จตุตถฌาณ

ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ 

ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้เป็นใหญ่ ๔ ทิศ
คอยดูแลรักษาผู้มีศีล
ปฏิบัติธรรมให้ถึงนิพพาน คือ เวสสุวรรณ ธตรฐ วิรูปักษ์ วิรุฬหก

Mobirise

๑. ท้าวธตรัฏฐะ

อยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุ
เป็นผู้ปกครองคันธัพพเทวดทั้งหมด

Mobirise

๒. ท้าววิรุฬหกะ

อยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุ
เป็นผู้ปกครองกุมภัฑเทวดาทั้งหมด

Mobirise

๓. ท้าววิรูปักขะ 

ทางทิศตะวันตกของภูเขาสิเนรุ
เป็นผู้ปกครองนาคเทวดาทั้งหมด

Mobirise

๔. ท้าวกุเวระ หรือ ท้าวเวสสุวรรณ 

อยู่ทางทิศเหนือของภูเขาสิเนรุ
ผู้ปกครอง ยักขะเทวดาทั้งหมด

Develop by Patihar Chunamee  &  Nanthawat Donpanmuang    Rajabhat Mahasarakham University